วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ห้อง ม.6/16 รุ่น72 ปี2562 
1.นันทวัฒน์ เหล่าตุ้ย 
2. รชตะ รัตนเกษร
3. ภูวดล อรรถโกวิท 
4. ฮับราฮัม แอนโคมาห์
5. ปฐวี นิลบรรจง
6. ภัทรพล ยังชุ่ม
7. เพชรเจษฎา ทองทรัพย์
8. คุณานนต์ อุ่มบางตลาด 
9. ปราบ วาทบัณฑิตกุล 
10. ภัคพล มันทรารักษ์
11. รัชชานนท์ ดอกดวง
12. ธนภัทร แสงแดง
13. นันทวัฒน์ เกรียงเลิศ 
14. ดนุนัย วงษ์แวง
15. เทพพิทักษ์ แย้มศิลา
16. นครินทร์ เชื้อแขก
17. สหฤทธิ์ อ่อนเหลา
18. ชวาลวัฒน์ หมกทอง
19. ฐิติภัทร จันพุฒิ
20. ณวัฒน์ ดวงรัศมี
21. ณัฐพงศ์ รัตยา
22. ตรี อ่วมคำ
23. เตชนิธิ เพชรศิริประเสริฐ 
24. ธนพัฒน์ วัชระกวีศิลป์
25. พรรษา กัณฑ์ศรี 
26. วรินทร์ คำมูลนา
27. กิตติมา รัตนสีมา
28. ณัฏฐธิดา คงตรีแก้ว
29. นิชาภา โพธิ์โสด
30. เจนนิศา วาทยานนท์ 
31. หฤทัย สง่าแสง 
32. จิราภา จันท์กระพ้อ 
33. สุทธิดา สิทธิสุรินทร์ 
34. เจริญขวัญณ์ ภัสสิญาพงศ์ 
35. ญาดา เรืองวัฒนกิจ
36. ปทิตตา คำประนอก
37. อนุสรา ประมูลเรือ
38.สุวพิชญ์ ลาวัณย์กรสกุล 
39. อนุชา ขุนกนก 
40. ชานน ธนูศร

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เขื่อนกิ่วลม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เขื่อนกิ่วลม
เขื่อนกิ่วลมเป็นเขื่อนในการดูแลของกรมชลประทาน ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางขึ้นไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธิน ประมาณ 38 กิโลเมตรเศษ แยกซ้ายกิโลเมตรที่ 623 เข้า ไปอีก 14 กิโลเมตร ปิดกั้น แม่น้ำวัง ซึ่งเป็นแควที่มีขนาดเล็กและสั้นที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในท้องที่จังหวัดลำปางเพียงจังหวัดเดียวเกือบตลอดสาย และไหลลงสู่แม่น้ำปิงในเขตจังหวัดตาก แม่น้ำวังมีพื้นที่ลุ่มน้ำแคบ ประกอบกับมีฝนน้อยกว่าลุ่มน้ำอื่น ๆ ในภาคนี้ แม่น้ำจึงเล็ก แต่น้ำขึ้นและลงในเวลาอันรวดเร็ว กับมีระยะเวลาขาดแคลนน้ำค่อนข้างมาก การทำนาจึงขึ้นอยู่กับฝนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก และข้าวที่ปลูกได้ก็น้อยจนไม่พอบริโภคในจังหวัด เพื่อเป็นการแก้ไขความเดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องน้ำเพื่อการเพาะปลูกของราษฎรในขั้นแรกนั้น กรมชลประทานได้พิจารณาสร้างโครงการชลประทานแม่วังซึ่งเป็นโครงการประเภททดและส่งน้ำแบบเหมืองฝายขึ้นเป็นโครงการแรกเมื่อ พ.ศ.2478 ต่อมา เมื่อความต้องการน้ำเพื่อการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น กรมชลประทานจึงสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำกิ่วลมที่ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อเก็บกักน้ำบนแม่น้ำวัง และสามารถส่งให้ราษฎรทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี เขื่อนกิ่วลมเป็นเขื่อนเก็กน้ำแห่งแรกในภาคเหนือ และเริ่มเก็บน้ำได้ในปี 2515 ลักษณะตัวเขื่อน

หน้าหลัก
กาดกองต้า ลำปาง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กาดกองต้า ลำปาง
ประวัติความเป็นมาของย่านการค้าที่รุ่งเรืองในอดีต ตลาดจีน ย้อนอดีตตลาดจีนลำปาง ลำปางในอดีตเคยเป็น
ศูนย์กลางการต้าทางน้ำที่รุ่งเรือง เป็นเมืองท่าที่สำคัญเชื่อมต่อศูนย์กลางการค้าเมืองปากน้ำโพ (นครสวรรค์) กับภาค
เหนือตอนบน เป็นแหล่งกระจายสินค้าเข้าออก แหล่งชุมชนเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองว่า ตลาดจีนหรือ ตลาดเก่า แม่น้ำวังเป็น
เส้นแม่น้ำสายสำคัญของประวัติศาสตร์ เป็นท่าล่องซุงไม้สักของคนต่างชาติที่ได้รับสัมมปทานทำกิจการป่าไม้ทำราย
ได้มากมาย เป็นแหล่งสะสมทุนหลักของพ่อค้าในลำปาง อดีตการคมนาคมไม่สะดวก การทำมาหากินของคนชาวลำปาง
อยู่ในระบบเศรษฐกิจเพื่อยังชีพ มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง ผลผลิตส่วนใหญ่เป้นพืชไร่ ผลผลิตจากป่า การค้าระหว่าง
เมืองในเขตภาคเหนือด้วยกันเป็นการค้าโดย พ่อค้าวัวต่าง ซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนาในหมู่บ้านรวบรวมผลผลิต เช่น เมี่ยง
ยาเส้น ครั่ง ของป่า ฯลฯ ขายให้แก่พ่อค้า ในเมือง ขากลับนำสินค้าที่ต้องการมาขายในหมู่บ้าน เช่น เกลือ เครื่องเหล็ก ปลาแห้ง ฯลฯ  การค้าทางไกลทางบกเป็นการค้าระหว่างเมืองไกลชายแดน เช่น พม่า ยูนนาน รัฐฉาน เมืองมะละแหม่ง และ
เชียงตุง ส่วนใหญ่ เป็นพ่อค้าพื้นเมือง ทั้งพม่า ไทยใหญ่ และจีนฮ้อ มีพ่อค้าวัวต่างพื้นเมืองบ้าง พ่อค้าวัวต่างส่วนใหญ่ 
เป็นการค้าเชื่อมระหว่าง ลำปาง พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ การค้าทางบกดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ประมาณปี 
พ.ศ. 2372 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 เส้นทางการค้าได้เปลี่ยนจาก ทางบำเป็นการค้าระหว่างกรุงเทพฯ
เชียงใหม่ มีศูนย์กลางการค้าอยู่ที่เมืองปากน้ำโพ เนื่องจากการทำป่าไม้สักส่งออก เปลี่ยนจากเส้นทางแม่น้ำสาละวิน
มาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา (ปิง วัง ยม น่าน) เส้นทางบกค่อย ๆ ลดความสำคัญลงไป แม่น้ำวังจึงเป็นแม่น้ำสายประวัติศาสตร์ 
การล่องซุงไม้สักออกจากลำปางเพื่อรวมกันที่ปากน้ำโพผูกเป็นแพซุงล่องสู่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องหลายสิบปีของ
บริษัททำไม้ฝรั่งการก่อตัวของชุมชนตลาดจีน ลำปางเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความเป็นมามากกว่าพันปี นอกจากคนเมืองยังมีคนไทลื้อ อพยพมาจากเมืองเชียงแสน พม่ามาทำป่าไม้และค้าขาย ชาวอังกฤษได้สัมปทานป่าไม้ ขมุมารับจ้างแรงงาน ส่วนใหญ่
จะมารวมตัวอยู่บริเวณ ตลาดจีนเพราะเป็นแหล่งจอดท่าเรือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศบริเวณแม่น้ำวังมีเกาะกลางแม่น้ำ
(ที่ตั้งบริเวณวัดเกาะในปัจจุบัน) กั้นแบ่งแม่น้ำวังออกเป็นสองสาย ด้านที่ติดต่อกับฝั่งชุมชนตลาดจีน เป็นช่องแคบและ
ตื้นเหมาะเป็นฯที่จอดเรือ จังกลายเป้ฯแหล่งชุมชนมีคนมาขนถ่ายสินค้าขึ้นลง ยังเป็นที่จอด กองคาราวาน (กองเกวียน)
จากต่างแดนมาจอดเพื่อรอรับสินค้านำไปขายอีกต่อหนึ่ง ประการสำคัญเป้ฯท่าน้ำรวบรวมซุงจากป่าไม้ต่าง ๆ เพื่อนำล่อง
ปากน้ำโพต่อไป จากปัจจัยดังกล่าว ตลาดจีนเดิมเป็นท่าจอดเรือขนถ่ายสินค้าและเป็นท่าล่องซุงพ่อค้าส่วนใหญ่ จะขึ้น
ล่องกับเรือ อาศัยเพิงปลูกค้าขายและนอนพักชั่วคราว บริเวณนี้เป็นที่ตั้ง สำนักงานป่าไม้บริษัทตะวันตกต่าง ๆ ชาวพม่า
ที่เป็นเฮดแมนต้องทำการควบคุมการล่องซุง ดูแลกิจการจังมีการปลูกสร้างอาคารขขึ้นมาเพื่อเป็นสำนักงานเป็นที่อยู่
อาศัยของตนเอง และใช้เป็นที่พักอาศัยรับรองตัวแทนบริษัททำไม้ของชาวต่างชาติมาตรวจงานป่าไม้ พร้อมกับ
ต้องอำนวยความสะดวกมีสินค้าฝรั่งต่าง ๆ ขายให้ จึงเป็นแหล่งการค้าขายในตัวมันเอง ช่วงแรก ๆ พ่อค้ามักจะเป็นชาว
ไทใหญ่ พม่า เงี้ยว และพ่อค้าวัวต่าง ซึ่งมีฐานะจากการทำงานให้บริษัทป่าไม้ฝรั่งพร้อมกบการค้าขาย ต่อมาเมื่อการ
คมนาคมทางน้ำเริ่ม มีความสำคัญพ่อค้าคนจีนเริ่มเดินทางเข้ามาพร้อมเรือสินค้า เป็นกุลีรับจ้าง มาพบทำเลที่เหมาะ
ประกอบกับความขยันขันแข็ง มีหัวการค้าที่ดีกว่าจึงเริ่มเข้าครอบงำ มีบทบาททางการค้า แย่งเบียดเบียนชาวไทใหญ่
พม่าออกไปจากตลาดการค้า


ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัด-ลำปาง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.ลำปาง
 ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ต.เวียงตาล อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ 
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย ออป.จึงได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 และจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่
 การแสดงของช้าง ซึ่งยังคงอนุรักษ์ศิลปะการทำไม้ซึ่งใช้ช้างเป็นพาหนะ และแรงงานที่สำคัญ ในการชักลากไม้ที่ได้จัดแสดงให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศได้ชม เวลาในการแสดง 
       วันจันทร์ - ศุกร์ มีการแสดง 2 รอบ ในเวลา 10.00 น . และ 11.00 น .
       วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดต่างๆ จะเพิ่มรอบการแสดงในเวลา 13.30 น .
นั่งช้างรอบบริเวณซึ่งเป็นสวนป่า ธรรมชาติยังมีสิ่งดีๆ ที่คอยให้กำลังใจกับเราทุกเมื่อ บางครั้งเราอาจจะสับสนวุ่นวาย เครียดหนักกับการทำงานทั้งวัน ทั้งสัปดาห์ลองหลบความวุ้นวายเหล่านั้น ไปท่องเที่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉาะกับการขี่ช้างชมธรรมชาติ ท่านจะรู้สึกถึงความแปลกใหม่ในชีวิต เป็นรางวัลจากความเหน็ดเหนื่อยที่จะทำให้ท่านลืมงานที่ออฟฟิคไปอีกหลายวันเชียวแหละ การนั่งช้างให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 - 15.30 น .
หน้าหลัก


วัดพระธาตุลำปางหลวง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผังและส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และอุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์ หน้าหลัก

อุทยานแห่งชาติ แจ้ซ้อ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุทยานแจ้ซ้อนป่าไม้เขตลำปางได้มีหนังสือ ที่ กษ 0709 (ลป)/4181 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2524 เรื่อง ขอกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นวนอุทยาน กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 1648/2524 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2524 ให้นายนฤทธิ์ ตันสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปทำการสำรวจ สรุปได้ว่าสภาพป่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีจุดเด่นทางธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง มีน้ำตกและบ่อน้ำร้อนตลอดปี เหมาะสำหรับจัดเป็นวนอุทยาน ในปีงบประมาณ 2526 กรมป่าไม้ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานแอ่งน้ำอุ่น (วนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน) บริเวณน้ำตกแจ้ซ้อน ตำบลแจ้ซ้อน กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 45,000 ไร่ หรือ 75 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตลำปาง ต่อมากรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/13868 และ 13870 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงจังหวัดลำปางและป่าไม้เขตลำปาง ขอความเห็นที่จะยกฐานะวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อน (วนอุทยานแอ่งน้ำอุ่น) เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจังหวัดลำปางได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ลป 0009/18356 ลงวันที่ 12 กันยายน 2526 และป่าไม้เขตลำปางได้ให้ความเห็นชอบและสนับสนุน ในการที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2526 ที่กำหนดให้จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยว